เทศกาลทานาบาตะ (Tanabata)

Story by Vacationist

ทานาบาตะ (「七夕」- Tanabata) หมายถึง งานเทศกาลทานาบาตะหรืองานฉลองดวงดาวของประเทศญี่ปุ่น จะตรงกับวันที่ 7 เดือน 7 (7 กรกฎาคม) ของทุกปี เทศกาลนี้เป็น 1 ใน 5 เทศกาล ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการผันเปลี่ยนฤดูกาลในประเทศญี่ปุ่น และเชื่อกันว่าเป็นวันที่โอริฮิเมะ สาวทอผ้า (ดาวเวก้า – Vega) จะได้พบกับฮิโกโบชิ ชายเลี้ยงวัว (Altair) กันเพียงปีละหนึ่งครั้ง โดยข้ามฝั่งแม่น้ำสวรรค์ (ทางช้างเผือก) มาพบกัน ซึ่งสะพานนั้นก็คือฝูงนกนางแอ่น (ดาวเดเนบ – Deneb)

tanabata5Photo by Immanuel Giel

ตำนานแห่งเทศกาลทานาบาตะ
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้วที่ฝั่งแม่น้ำด้านเหนือของอามาโน่ คาวา (ทางช้างเผือก) บนสวรรค์มีลูกสาวของเทพผู้ครองสวรรค์ นางหนึ่งชื่อว่า “โอริฮิเมะ” นางเป็นคนที่สวยและขยันขันแข็งทำงานไม่ยอมหยุด งานประจำของนาง คือ “การทอผ้า” นางทอผ้าได้สวยงามและประณีตมากจึงเป็นที่พึงพอใจของเหล่าเทพทั้งหลาย นั่นจึงเป็นเหตุให้เธอต้องใช้เวลาที่มีทั้งหมดเพื่อทอผ้าให้กับชาวสวรรค์ทั้งหลาย จนเธอไม่มีเวลาได้มีความรักกับชายหนุ่มอย่างหญิงสาวทั่วไป เทพผู้ครองสวรรค์ผู้เป็นบิดาเป็นห่วงและสงสารธิดาจึงคิดที่จะให้นางได้มีคู่ครอง เทพผู้เป็นบิดาจึงประกาศหาคู่ให้กับโอริฮิเมะ นางถูกตาต้องใจกับชายหนุ่ม ที่ชื่อ “ฮิโกโบชิ” ชายหนุ่มผู้นี้เป็นคนเลี้ยงวัวอยู่ฝั่งด้านใต้ของทางช้างเผือก เป็นคนที่ขยันขันแข็งไม่แพ้โอริฮิเมะ ร่างกายกำยำและสง่างาม ยามเมื่อเลือกคู่ก็ดูเหมือนว่าทั้งคู่ก็ดูจะถูกตาต้องใจซึ่งกันและกัน เทพผู้เป็นบิดาจึงให้ทั้งสองได้แต่งงานกัน แต่เมื่อโอริฮิเมะได้ใช้ชีวิตคู่ร่วมกับฮิโกโบชิ ทำให้เธอละทิ้งงานทอผ้า ส่วนฮิโกโบชิก็ละทิ้งงานเลี้ยงวัวของตนเช่นกัน ทำให้วัวของฮิโกโบชิเดินเพ่นพ่านไปทั่วสวรรค์ ก่อความเดือดร้อนให้เทพบนสวรรค์เป็นอย่างมาก ซึ่งให้เจ้าผู้ครองสวรรค์ผิดหวังยิ่งนัก เทพผู้เป็นบิดาจึงพิโรธลงโทษให้ทั้งสองแยกจากกันไปอยู่คนละทิศของทางช้างเผือก เมื่อต้องแยกกับฮิโกโบชิ โอริฮิเมะโศกเศร้าเสียใจยิ่งนัก จนไม่มีกะจิตกะใจจะทอผ้าให้งดงามได้ดังเดิม แถมยังดูหดหู่จนเจ้าผู้ครองสวรรค์เวทนา จนกระทั้งเทพผู้เป็นบิดาเกิดความสงสารในตัวนาง ท่านจึงใจอ่อนยอมให้ทั้งสองได้พบกันปีละครั้ง แล้ววันนั้นก็คือวันที่ 7 เดือน 7 ของทุกๆ ปี จากนั้นมาทั้งสองจึงมีความหวังว่าจะได้พบกันถึงแม้ว่าจะเป็น 1 ปี 1 ครั้งก็ตาม โอริฮิเมะกับฮิโกโบชิจึงกลับมาขยัน ขันแข็งตั้งหน้าตั้งตาทำงานเหมือนเดิม และในทุกๆ ปีทางช้างเผือกจะออกมาปรากฏบนท้องฟ้า โอริฮิเมะและฮิโกโบชิก็จะได้มาพบกันสมดังปรารถนา

tanabata6

tanabata4

กิจกรรมที่คนญี่ปุ่นทำในช่วงเทศกาลทานาบาตะ
ปัจจุบันพื้นที่ส่วนใหญ่ในญี่ปุ่นยึดถือวันทานาบาตะเป็นวันที่ 7 เดือนกรกฏาคม ดังนั้นตั้งแต่ปลายเดือนมิถุนายนเด็กและผู้ใหญ่จะเขียนคำอธิฐานไว้บนกระดาษรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเล็กๆ ที่มีสีสันสดใสเรียกว่า ทังซะคุ「短冊」และนำไปแขวนไว้บนกิ่งไผ่ที่ประดับด้วยสิ่งประดับที่ทำจากกระดาษ โดยสิ่งประดับที่ทำจากกระดาษโดยกระดาษทั้งหมดจะมี 5 สี สื่อความหมายแตกต่างกันไป ได้แก่ สีเขียวที่หมายถึงความก้าวหน้าในการเรียนและหน้าที่การงาน, สีเหลืองคือโชคลาภเงินทอง, สีแดงคือความสำเร็จ, สีชมพูคือความรัก และสีฟ้าได้แก่ความสุข ซึ่งในช่วงเทศกาลบ้านและร้านรวงต่างๆ จะประดับประดาด้วยกระดาษสีเหล่านี้ทำให้ทั่วญี่ปุ่นเต็มไปด้วยสีสันสดใส หรือเป็นลักษณะอย่างเช่นกิโมโนกระดาษเพื่อขจัดโรคภัยและโชคร้ายออกไป กระเป๋ากระดาษเพื่อการไม่มีมีปัญหาเรื่องเงินทองและมีธุรกิจที่เจริญรุ่งเรือง นกกระเรียนกระดาษเพื่อให้สมาชิกในครอบครัวมีอายุยืน ตาข่ายกระดาษเพื่อความสำเร็จในการจับปลาและเก็บเกี่ยวผลิตผลทางการเกษตร เป็นต้น กิ่งไผ่จะถูกวางไว้ที่สนาม ทางเข้าโรงเรียน สถานที่สำคัญต่างๆ รวมถึงทางเข้าบ้าน พอวันรุ่งขึ้นก็จะนำไปลอยน้ำ โดยเชื่อว่า สาวทอผ้าและชายเลี้ยงวัวก็จะดลบัลดาลคำอธิฐานบนกระดาษให้เป็นจริง

tanabata3  tanabata

Photo by :Laika ac,okki

นอกจากนี้ชาวบ้านยังนิยมใส่ชุดประจำชาติเช่น ยูคาตะ เดินกัน ทำให้บรรยากาศดูสดใสครึกครื้นขึ้นอีก แถมปัจจุบันยังมีการเพิ่มขบวนพาเหรดสวยๆ มีการจุดพลุ และอาหารแผงลอยรวมทั้งของที่ระลึกหลากหลายขายกันมากมายให้เราได้เดินดูงานไป ด้วย ชิมอาหารอร่อยๆ ไปพลางอีกต่างหาก

tanabata2   tanabata8

Share This Post:Share on Facebook0Share on Google+0Tweet about this on TwitterShare on LinkedIn0