โอมิฮะจิมัง (Omihachiman) เมืองน่ารักใกล้ทะเลสาบบิวะ

Story & Photo by Orawan

โอมิฮะจิมัง  (Omihachiman)

ทะเลสาบบิวะ (Lake Biwa) ในจังหวัดชิงะ (Shiga) ภูมิภาคคันไซ คือสถานที่เที่ยวที่เป็นที่รู้จักกันดีว่า เป็นทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น ทะเลสาบบิวะถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งทะเลสาบที่เป็นที่รู้จักว่ามีสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย อย่างเช่น เกาะโอคิชิมะ (Okishima) ที่มีแมวเยอะๆ ครั้งนี้เราจะพาไปรู้จักกับอีกหนึ่งเมืองใกล้กับทะเลสาบบิวะแห่งนี้ เมืองนี้ชื่อว่า โอมิฮะจิมัง (Omihachiman) ซึ่งทิศตะวันออกเฉียงใต้ของทะเลสาบบิวะ ถ้าจากสถานีโอซาก้า (Osaka) ไปที่สถานีเกียวโต (Kyoto) แล้วมาที่สถานีโอมิฮะจิมัง (Omihachiman) ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงนิดๆ เท่านั้น

โอมิฮะจิมัง ในอดีตเคยเป็นเมืองท่าและเป็นเมืองแห่งสายน้ำที่เต็มเปี่ยมไปด้วยมรดกทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ที่รุ่งเรืองเมื่อกว่า 500 ปีที่แล้ว เคยเป็นที่พักของพ่อค้าโอมิผู้มั่งคั่ง ภายในเมืองมีคลองฮาจิมังโบริ ซึ่งคลองที่ขุดขึ้นมาเพื่อเชื่อมเมืองกับทะเลสาบบิวะเข้าไว้ด้วยกัน ง่ายต่อการทำการค้าทางเรือ มีระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร

สถานที่ท่องเที่ยว

ถนนชินมาจิ (Shinmachi Street)

ย่านชินมาจิ (Shinmachi) เป็นย่านพื้นที่อนุรักษ์ที่มีอาคารบ้านเรือนเก่าแก่ของบรรดาพ่อค้าวาณิชย์ที่สร้างขึ้นปลายสมัยเอโดะจนถึงสมัยเมจิไว้เป็นอย่างดี พ่อค้าจากฮะจิมังซึ่งเป็นคนในท้องถิ่นนี้เป็นผู้มีมีบทบาทมากในการขยายกิจการไปยังเอโดะรวมถึงขยายกิจการไปต่างประเทศได้อย่างรวดเร็ว มีบ้านของพ่อค้าโอมิที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้หลายหลังตั้งแต่ในยุคเอโดะ (Edo ปี 1603 ~ 1868) และยุคเมจิ ( Meiji ปี 1868 ~ 1912)

มีคฤหาสน์ของ Nishikawa Riemon ซึ่งเป็นคฤหาสน์ที่มีชื่อเสียงเป็นทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่สำคัญของญี่ปุ่นและยังเปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าชมโดยเป็นส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์เทศบาลโอมิ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ตั้งอยู่ในสถานีตำรวจ Hachiman สไตล์ตะวันตกและมีสิ่งของต่างๆ เช่นอุปกรณ์การเกษตรและบันทึกเก่าๆ ให้นักท่องเที่ยวได้อ่าน

ผลงานสถาปัตยกรรมของวิลเลียม เมอร์เรล โวรีส (William Merrell Vories’ Architecture)

สถาปัตยกรรมตะวันตกหลายแห่งที่ออกแบบและก่อสร้างโดยวิลเลียม เมอร์เรล โวรีส (William Merrell Vories) มิชชันนารีชาวอเมริกันและสถาปนิกที่ยอดเยี่ยมที่เดินทางมายังญี่ปุ่นเมื่อประมาณ 100 ปีก่อน บทบาทอยู่ทั่วภูมิภาคคันไซในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 กล่าวกันว่าเขาสร้างอาคารมากถึง 1,600 อาคารตลอดอาชีพการงาน 35 ปี

แต่หนึ่งในหลายอาคารอยู่ที่เมืองโอมิฮะจิมัง (Omihachiman) แห่งนี้ และยังคงได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดีที่ อาคารบ้านเรือนแบบตะวันตกเหล่านี้ทำให้รู้สึกราวกับกำลังอยู่ในอเมริกาหรือยุโรป ชวนให้น่ามาเดินเล่นและเพลิดเพลินกับบรรยากาศแบบตะวันตกเป็นอย่างยิ่ง

เที่ยวชมชุมชนริมน้ำ (Hachiman-bori)

คลอง Hachiman-bori เคยเป็นทางน้ำที่เชื่อมต่อใจกลางเมือง Omihachiman กับทะเลสาบ Biwa เพื่อการค้าขายและปัจจุบันการท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมมากที่สุดคือการ “เที่ยวชมชุมชนริมน้ำ” ที่นักท่องเที่ยวจะได้ล่องเรือชื่นชมทิวทัศน์อันงดงามของทุ่งต้นกกและดอกไม้ตามฤดูกาลไปอย่างช้าๆ เริ่มต้นจากใจกลางเมืองเก่า Omihachiman โดยใช้เวลา 35 นาที

ฤดูใบไม้ผลิเป็นช่วงที่ดีที่สุดในการเยี่ยมชมดังนั้นคุณจึงสามารถเพลิดเพลินกับทิวทัศน์ที่สวยงามของดอกซากุระริมคลองขณะนั่งเรือ

มีบริษัทที่ให้บริการล่องเรือชมชุมชนริมน้ำเป็นรอบๆ อยู่ทั้งหมด 4 บริษัท เปิดให้บริการตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายนไปจนถึงเดือนพฤศจิกายนด้วยคอร์สที่แตกต่างกันไป ในอัตรา 2,160 เยนเท่ากันทุกบริษัท และหากเป็นช่วงฤดูใบไม้ผลิ ขอแนะนำคอร์สเรือพายชมดอกซากุระและดอกคาโนลา (Canola) อันสวยงาม

ภูเขาฮะจิมังยามะ (Mt. Hachiman-yama) และศาลเจ้าฮิมุเระฮะจิมังงู (Himure Hachiman-gu Shrine)

“ศาลเจ้าฮิมุเระฮะจิมังงู (Himure Hachiman-gu Shrine)” ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาฮะจิมังยามะ (Mt. Hachiman-yama) ถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของโอมิฮะจิมัง (Omihachiman) และเป็นที่สถิตของเทพเจ้าที่เป็นที่เคารพบูชาของผู้คนในท้องถิ่นตั้งมาแต่สมัยโบราณ

นักท่องเที่ยวสามารถขึ้นกระเช้าไฟฟ้า (มีค่าบริการ) ไปยังยอดเขาฮะจิมังยามะซึ่งเป็นจุดชมวิวที่สามารถเห็นได้ทั่วทั้งเมืองอย่างชัดเจน และยังสามารถเที่ยวชมซากปราสาทฮะจิมังยามะ (Hachimanyama Castle) ที่ถูกสร้างขึ้นเมื่อ 500 ปีก่อนได้อีกด้วย

ศาลเจ้าฮิมุเระฮะจิมังงู สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 131 ตัวศาลเจ้าเคยถูกย้ายขึ้นไปบนยอดเขาฮะจิมัง แต่จักรพรรดิฮิเดโยริ โทโยโทมิ สั่งให้ย้ายกลับลงมาที่เก่า เพราะจะสร้างปราสาทฮาจิมังด้านบนเขาแทน

การเดินทาง
(1) จากโตเกียว
จากสถานี Tokyo -> สถานี Nagoya -> สถานี Maibara -> สถานี Omihachiman ใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง
(2) จากโอซาก้า
จากสถานี Osaka  -> สถานี Kyoto –> สถานี Omihachiman ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงกว่าๆ

Share This Post:Share on Facebook0Share on Google+0Tweet about this on TwitterShare on LinkedIn0