เตรียมรับหน้าร้อนกับอาการลมแดด

ย่างเข้าสู่ฤดูร้อน แทบทุกพื้นที่อากาศร้อนมากขึ้นเป็นระยะๆ สำหรับใครที่ต้องเดินทางไปยังพื้นที่ทีอากาศร้อนมากๆตลอดจนผู้ที่ต้องอยู่ท่ามกลางอากาศที่ร้อนติดต่อกันนานๆ ก็ต้องพึงระวังอาการลมแดด เพราะอาการลมแดดที่หลายคนคิดว่าคงไม่เป็นอะไรมากแต่ในความเป็นจริงอาการดังกล่าวเป็นอันตรายเป็นอย่างยิ่ง มาทำความรู้จักอาการลมแดดและเตรียมรับมือกับหน้าร้อนที่จะมาถึงกัน

โรคลมแดด หรือ Heat Stroke ปกติอุณหภูมิร่างกายเราจะประมาณ 36 – 37 องศาเซลเซียส
แต่ถ้าได้รับความร้อนมากเกินไป ทำให้ร่างกายไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ จนอุณหภูมิสูงไม่เกิน 40 องศาเซสเซียสอาการนี้เรียกว่า “เพลียแดด” แต่ถ้าสูงเกิน 40 องศาเซลเซียสจนมีอาการชัก เกร็ง ซึม หรือหมดสติ แบบนี้จะเรียกว่า “โรคลมแดด”

ลักษณะอาการ
ขั้นแรกจะรู้สึกอ่อนเพลีย หน้ามืด เหมือนจะเป็นลม แต่ถ้ารุนแรงจะมีอาการชีพจรเต้นไม่สม่ำเสมอ ไม่มีเหงื่อออก และตัวร้อนจัดขึ้นเรื่อยๆ อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะและถ้าผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีเทาคล้ายกับสีขี้เถ้าแสดงว่าใกล้ถึงภาวะหัวใจหยุดทำงานซึ่งในบางรายอาจถึงแก่ชีวิตได้ โดยอาการแบบรุนแรงนี้อาจจะเกิดขึ้นได้ ถ้ามีอาการขั้นแรกแล้วไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้องหรือบางครั้งอาจเกิดขึ้นเองโดยฉับพลัน

การปฐมพยาบาล
หากเป็นเพียงระยะแรกและถ้ายังมีสติอยู่ให้รีบเข้าไปนั่งพักในที่ร่มและอากาศถ่ายเทได้สะดวก หรือห้องแอร์ ดื่มน้ำเย็นหรือน้ำเกลือแร่ ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นเช็ดตัวนอนพัก แต่ถ้าอาการเป็นลักษณะรุนแรงให้รีบพาส่งโรงพยาบาล โดยใช้พาหนะที่นอนได้เพราะการนั่งตัวตรงอาจทำให้เลือดไม่ไปเลี้ยงสมองของผู้ป่วยได้ ใช้รถที่มีเครื่องปรับอากาศเพื่อลดอุณหภูมิ และให้นอนยกเท้าสูงขึ้นกว่าศรีษะ แต่ถ้าหมดสติ ไม่รู้สึกตัวให้จับศีรษะผู้ป่วยหันไปด้านข้าง เพื่อลดโอกาสการสำลัก

ทางที่ดีหลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ร้อนจัดมากๆ เป็นเวลานาน พยายามดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อชดเชยการขาดน้ำ ที่สำคัญใส่ใจเพื่อนร่วมเดินทาง สังเกตอาการกันสักนิด

Share This Post:Share on Facebook0Share on Google+0Tweet about this on TwitterShare on LinkedIn0