ข้อแนะนำและวิธีรับมือฝุ่น PM 2.5

สิ่งหนึ่งที่เมืองใหญ่ไม่ว่าในประเทศไทยทั้งกรุงเทพฯ เชียงใหม่ และเมืองหลวงอีกหลายประเทศประสบปัญหาเดียวกัน นั่นก็คือ ปัญหามลพิษจากฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า2.5 ไมครอน (Particulate Matter 2.5 –) ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

ในช่วงเวลาที่ PM 2.5 ที่มีระดับพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจตา และผิวหนัง เราจะรับมืออย่างไรในสถานการณ์เช่นนี้

เพื่อป้องกันตัวเองจากอันตรายนี้ติดตามรายงานสภาพอากาศและระดับ PM 2.5 อย่าง
สม่ำเสมอ
เฝ้าระวังระดับมลพิษผ่านแอพพลิเคชั่นต่างๆ เช่น AirVisual, Real Time AQI, BreezoMeter, Air4Thai

ควรใช้เครื่องฟอกอากาศที่สามารถกรองฝุ่น PM 2.5 ได้เมื่ออยู่ภายในบ้านหรืออาคาร พยายามอยู่บ้านหรือภายในอาคารที่ปิดมิดชิด อาจใช้เครื่องปรับอากาศภายในบ้านแม้อุณภูมิภายนอกไม่สูง หรือปิดหน้าต่างให้มิดชิดในช่วงที่มีมลพิษสูงใช้เครื่องฟอกอากาศที่มีประสิทธิภาพเพื่อช่วยกรองอนุภาคฝุ่นละอองขนาดเล็ก ควรเลือกครื่องฟอกอากาศที่มีไส้กรองหรือตัวกรอง ที่มีคุณสมบัติดักจับอนุภาคขนาดเล็กเทียบเท่าสารก่อภูมิแพ้ได้ถึง 99.95% หรือมีคุณสมบัติดักจับอนุภาคสารก่อภูมิแพ้ไม่ว่าจะเป็นละอองเกสรดอกไม้ ฝุ่น ควัน และเศษผงได้ และระบบ UV-C ช่วยในการฆ่าแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อโรคที่มาพร้อมผงฝุ่น

ลดเวลาการอยู่นอกบ้าน/อาคาร หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายกลางแจ้ง โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อ PM 2.5 สูง เช่น เด็กหญิงตั้งครรภ์ คนชรา ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคภูมิแพ้โรคปอด โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคไตเรื้อรัง ควรงดเดินทางออกจากบ้าน ถ้าไม่จำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกกำลังกายกลางแจ้งควรหลีกเลี่ยงหรืองดช่วงนี้ เนื่องจากอาจสูดเอาฝุ่น PM 2.5 เข้าสู่ทางเดินหายใจและปอดได้มากกว่าเดิม

สวมหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ หรือ สวมหน้ากาก N95 หากจำเป็นต้องออกจากบ้านหรืออาคาร แนะนำสวมหน้ากากอนามัยที่สามารถกรองอนุภาคฝุ่นละอองพิษได้สูง เช่น หน้ากาก N95 กรองได้อย่างน้อย 95% และหน้ากาก N99 กรองได้มากถึง99% แต่ถ้าไม่มี ใช้หน้ากากธรรมดาและควรสวมให้ถูกวิธีกระชับพอดีกับศีรษะ ไม่หลวม เนื่องจากฝุ่นละอองมีขนาดเล็กสามารถลอดผ่านหน้ากากได้ง่าย ที่สำคัญควรเปลี่ยนหน้ากากอนามัยใหม่ทุกวัน

งดสูบบุหรี่และกิจกรรมที่ทำให้เกิดควัน ทุกครั้งที่มีการสูบบุหรี่หรือสูดกลิ่นควันอาจส่งผลให้ระบบทางเดินหายใจและปอดและเป็นตัวการที่ก่อให้เกิดละอองสารเคมีขนาดเล็กๆ ขณะที่ก๊าซชนิดต่างๆ ที่ถูกปล่อยออกมาพร้อมกัน เมื่อมีการเผาไหม้ยังจะก่อให้เกิดสารต่างๆ อีกกว่า 4,000 ชนิด ซึ่งล้วนแต่เป็นสารพิษที่ทำให้อากาศปนเปื้อนตลอดจนการเผา ไม่ว่าจะเป็นเผาใบไม้ เผาเศษขยะตามพงหญ้าเผาไร่นา เผาป่า ในที่โล่ง หรือควันเสียที่ลอยมาจากโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้เกิดก๊าซพิษและฝุ่นละอองมากมาย โดยเฉพาะในช่วงที่มลพิษทางอากาศสูงมาก ๆ ต้องหยุดการเผาเด็ดขาด เพราะจะยิ่งซ้ำเติมให้สภาพอากาศเลวร้ายลงไปอีก

สังเกตตัวเอง สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว หากพบอาการ เช่นหายใจติดขัด วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด หรือไอติดต่อกันรุนแรง ควรรีบพบแพทย์ เพื่อรับการรักษา สำหรับใครที่แพ้หนักและเคยได้รับยาแก้แพ้มาแล้ว ควรพกยาติดตัวเสมอ ปัจจุบันมียาบรรเทาอาการแพ้หลายตัวที่ช่วยเกี่ยวกับอาการแพ้และฝุ่นควัน

Share This Post:Share on Facebook0Share on Google+0Tweet about this on TwitterShare on LinkedIn0