31 ตุลาคม วันฮาโลวีน (Halloween)

วันฮาโลวีน ตรงกับวันที่ 31 ตุลาคม ของทุกปี ซึ่งตรงกับคืนก่อนวันออลเซนต์ส (All Saints’ Day) ในศาสนาคริสต์ เป็นการผสมผสานทางวัฒนธรรมและธรรมเนียมปฏิบัติทางศาสนา เชื่อกันว่าเป็นวันที่วิญญาณของคนตายจะออกมายังโลกมนุษย์ จึงมีการจัดงานฉลองเพื่อต้อนรับวิญญาณและเพื่อขอพรให้วิญญาณเหล่านี้ไม่ทำร้ายพวกเขา

ประวัติวันฮาโลวีน (Halloween)

วันฮาโลวีน (Halloween) เป็นงานฉลองในคืนวันที่ 31 ตุลาคมของทุกปี โดยเชื่อว่ามีที่มาหรือต้นกำเนิดจากเทศกาลดั่งเดิมที่ชื่อ Samhain(อ่านว่า “SAH-win” หรือ “ซาห์-วิน”)  ของชาวเคลต์ (Celts) ชนเผ่าพื้นเมืองในยุโรปตะวันตก  ที่เชื่อว่า วันที่ 31 ตุลาคมเป็นวันสิ้นสุดของฤดูร้อนและรวมทั้งการเตรียมพร้อมรับมือกับช่วงมืดของปี เริ่มต้นฤดูหนาว

นอกจากนี้ยังมีความเชื่อที่ว่ากำแพงที่ปิดกั้นระหว่างโลกปัจจุบันและโลกหน้าหรือโลกแห่งจิตวิญญาณได้หายไปในช่วงเทศกาล Samhain นี้ ช่วงเวลาที่โลกแห่งความตายและโลกแห่งชีวิตมาบรรจบกัน วิญญาณของคนตายจะออกมาเดินเร่ร่อนบนโลกมนุษย์ ชาวเคลต์จึงจัดพิธีกรรมเพื่อต้อนรับวิญญาณเหล่านี้ และเพื่อขอพรให้วิญญาณเหล่านี้ไม่ทำร้ายพวกเขา และก่อให้เกิดความเชื่อว่าการสวมชุดและหน้ากากผี เพื่อแฝงตัวเป็นวิญญาณร้ายจะสามารถขับไล่วิญญาณร้ายและทำให้หลีกเลี่ยงภัยอันตรายได้ รวมทั้งยังมีการรวมตัวกันรอบกองไฟและส่งเสียงดังเพื่อไล่วิญญาณร้ายออกไป

ในช่วงศตวรรษที่ 9 พระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) ได้นำเอาเทศกาลฉลอง All Saints Day ที่มีขึ้นในวันที่ 1 พฤศจิกายน เข้ามายังดินแดนเคลติก โดย All Saints Day มีอีกชื่อว่า Hallows Eve ซึ่งได้กลายมาเป็นชื่อเทศกาล Halloween ที่เรารู้จักกันในทุกวันนี้ในที่สุด ธรรมเนียมปฏิบัติบางส่วนของทั้งเทศกาล Samhain และ Hallows Eve ได้ถูกนำมาผสมผสานเข้าด้วยกัน

ในคริสต์ศาสนา นิกายคาทอลิก Halloween เป็นคำภาษาอังกฤษ คาดว่าเพี้ยนมาจากคำ All Hallows Eve ซึ่งเป็นเทศกาลฉลองวันก่อนวันสมโภชนักบุญของศาสนาคริสต์  โดยวิธีตัดต่อ Hallow + Eve = Halloween คำ Hallow เป็นคำแองโกลแซกซัน แปลว่า ทำให้ศักดิ์สิทธิ์ ตรงกับภาษาเยอรมันว่า heiligen ในปัจจุบันนิยมใช้คำมาจากภาษาละตินว่า sanctify คำ Hallow ยังมีใช้ในบทสวดอธิษฐานเก่า ๆ เช่น Hallowed be thy Name (ขอพระนามจงเป็นที่สักการะ)

Hallow ยังแปลว่า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผู้ศักดิ์สิทธิ์ นักบุญ คำ All Hallowmas จึงแปลว่า วันสมโภชนักบุญทั้งหลาย ในปัจจุบันใช้คำว่า All Saints Day คู่กับ Christmas ซึ่งแปลว่า วันสมโภชพระคริสต์หรือคริสต์มาสนั่นเอง วันก่อนวันสมโภชคริสต์มาสมี Chrismas Eve ที่นิยมเรียกว่า คืน (ก่อน) คริสต์มาส วันก่อนวันสมโภชนักบุญทั้งหลายก็มี All Hallowmas Eve ซึ่งต่อมาย่อเป็น Halloween โดยมีงานรื่นเริงและพิธีกรรมทางศาสนาเช่นเดียวกับคืนคริสต์มาส ชาวคาทอลิกพร้อมใจกันเลื่อนพิธีกรรมทางศาสนาไปหลังวันสมโภชนักบุญทั้งหลาย และเรียกว่า วันวิญญาณในแดนชำระ (All Souls Day) เพื่อให้คู่กับวันสมโภชนักบุญทั้งหลาย (All Saints Day)

สัญลักษณ์ของวันฮาโลวีน

การแกะสลักฟักทองเป็นตะเกียง หรือ หรือ ประเพณีแจ็ค โอ แลนเทริน (Jack-O-Lanterns)

สำหรับธรรมเนียมการแกะสลักฟักทองเป็นตะเกียงหรือโคมไฟนั้นมีที่มาจากตำนานพื้นบ้านของชาวไอริช ได้เล่าไว้ว่า มีผู้ชายชื่อว่า แจ็ค โอ แลนเทิร์น หรือแจ๊กจอมขี้เหนียว ซึ่งขึ้นชื่อในเรื่องดื่มเหล้าเมายาและมีกลลวงมากมาย เคยหลอกล่อซาตานด้วยกลโกงต่าง ๆ นานา หลอกให้ซาตานปีนขึ้นไปบนต้นไม้  หลังจากนั้นแจ็คก็จะจัดการแกะสลักรูปไม้กางเขนลงไปบนลำต้นของต้นไม้นั้น ซึ่งทำให้ซาตานลงจากต้นไม้ไม่ได้ แล้วแจ็คก็ได้ทำการต่อรองกับซาตานว่าถ้าซาตานจะไม่จับตัวเขาไปเขาสัญญาว่าจะปล่อยซาตานลงจากต้นไม้นั้น

พอแจ็กเสียชีวิต พระเจ้าไม่ยอมให้เขาขึ้นสวรรค์ ส่วนปีศาจก็โกรธแจ็กและไม่ยอมให้เขาลงนรก พร้อมส่งให้แจ็กออกเดินทางไปยังโลกมืดโดยมีแต่ถ่านเพื่อจุดไฟนำทาง เพื่อที่จะให้เขาใช้นำทางไปในทางที่มืดและหนาวเย็น ถ่านไฟก้อนนั้นได้ถูกใส่ไว้ข้างในของผักกาดที่กลวงแล้วเพื่อที่จะให้มันจุดอยู่ได้นาน

ในประเทศไอร์แลนด์และสกอตแลนด์ ผู้คนได้นำเอาหัวผักกาดเทอร์นิพหรือมันฝรั่งมาทำโคมไฟหรือตะเกียงของแจ็ก พร้อมกับแกะสลักหน้าที่น่ากลัว แล้ววางไว้ริมหน้าต่างหรือใกล้ ๆ กับประตูเพื่อป้องกันไม่ให้ แจ็ค หรือวิญญาณร้ายเข้ามาใกล้ ในอังกฤษมีการใช้บีตขนาดใหญ่

ผู้อพยพจากประเทศเหล่านี้ได้นำเอาความเชื่อและประเพณีดังกล่าวไปยังสหรัฐอเมริกาด้วย ต่อจากนั้นไม่นาน พวกเขาได้ใช้ฟักทองที่พบได้มากในอเมริกาเพื่อทำเป็นตะเกียง Jack-o’-Lantern ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในปัจจุบัน

กิจกรรมที่นิยมทำในวันฮาโลวีน
  • แต่งตัวเป็นผีหรือสัตว์ประหลาด
  • ไปงานปาร์ตี้ฮาโลวีน
  • แกะสลักฟักทองเป็นรูปหน้าผี (Jack-o’-lantern)
  • หลอกหรือแกล้ง (trick-or-treating) โดยเด็ก ๆ จะแต่งตัวเป็นผีหรือสัตว์ประหลาดและไปขอขนมหรือลูกอมจากบ้านใกล้เคียง
  • เล่าเรื่องผีหรือดูภาพยนตร์สยองขวัญ

พวกเด็กๆ จะสนุกสนานมากในคืนวันฮาโลวีน เพราะพวกเขาจะได้แต่งตัวเลียนแบบคนตาย เช่น เป็นโจรสลัด, กัปตัน, โครงกระดูก, หญิงในสมัยโบราณ หรือสุดจะคิดค้นกันขึ้นมาอย่างในสมัยปัจจุบัน และก็เดินไปเคาะประตูตามบ้านต่างๆ เพื่อขอขนม, ลูกกวาด ฯลฯ

โดยเฉพาะบ้านที่มีลูกฟักทองล้วงเนื้อออกเพื่อใส่เทียนเข้าวางไว้ และจะมีแสงสว่างออกมาจากรูจมูก, ลูกตาและปากที่เจาะไว้บนลูกฟักทอง ตั้งไว้หน้าบ้าน เด็กๆ จะเคาะประตูและเมื่อเจ้าของบ้านเปิดประตู พวกเขาก็จะร้องทักว่า “Trick or Treat

การเล่น Trick or Treat (หลอกหรือเลี้ยง)

การเล่น Trick or Treat เป็นการละเล่นยอดนิยมของเด็ก ๆ ในวันฮาโลวีน เพื่อพูดตามธรรมเนียมการขอขนม พวกเขาไม่เข้าใจความหมายแท้จริงของมัน เพราะว่าคำว่า “Trick or Treat” คำนี้ เป็นคำคล้ายคำพูดของพวกบูชาลัทธิปีศาจ ทำนองว่า ทำสนธิสัญญาตกลงกับมันหรือไม่ก็จะมีการล่อลวง

โดยเด็ก ๆ มักจะแต่งตัวเลียนแบบภูตผีปีศาจ แล้วออกไปตามบ้านเพื่อเคาะประตูแล้วกล่าวคำว่า “Trick or Treat” หากเจ้าบ้านไม่เลี้ยง หรือ Treat (ส่วนใหญ่จะเป็นขนม ช็อกโกแลต หรือลูกอม) ตามที่เด็ก ๆ ร้องขอ เด็ก ๆ ก็จะก่อกวนเจ้าบ้านหรือบริเวณที่พักอาศัย หรือ Trick นั่นเอง ซึ่งในบางพื้นที่ของประเทศไอร์แลนด์และสกอตแลนด์เด็ก ๆ จะร้องเพลง หรือเล่าเรื่องผีเพื่อให้เจ้าบ้านยอม Treat

และพวกเจ้าของบ้านเมื่อเอาขนม, ลูกกวาดออกมาให้แล้ว บางแห่งก็จะมีการร้องเพลงให้แก่บ้านนั้น ซึ่งบางแห่งดั้งเดิมก็จะสวดภาวนาให้แก่เจ้าของบ้าน หรืออุทิศแด่วิญญาณผู้ล่วงลับ เราไม่จำเป็นต้องทำให้เด็กเสียความรู้สึกกับคำว่า “Trick or Treat” แต่ควรสอนเด็กๆ ว่า ปีศาจซ่อนเร้นอยู่ในรูปภายนอกที่ดูสวยงามคอยหลอกลวงเรา คล้ายมันใส่หน้ากาก หลอกลวงผู้คนเพื่อปิดบังโฉมหน้าแท้จริงของมัน พระคัมภีร์กล่าวว่า “เราทั้งหลายรู้ว่า คนที่เกิดจากพระเจ้าไม่ทำบาป แต่พระบุตรของพระเจ้าได้ทรงคุ้มครองรักษาเขา

Share This Post:Share on Facebook0Share on Google+0Tweet about this on TwitterShare on LinkedIn0