เอสซีลอร์ลูซอตติกาเปิดตัวเลนส์ STELLEST โซลูชั่นล่าสุดที่ชะลอการเพิ่มค่าสายตาสั้นในเด็กโดยเฉลี่ยถึง 67%!

เอสซีลอร์ลูซอตติกา ผู้นำด้าน VISION CARE ผลิตและจำหน่ายเลนส์แว่นตา กรอบแว่น และแว่นกันแดด อันดับ 1 ในประเทศไทย เปิดตัวเลนส์ STELLESTTM  โซลูชั่นล่าสุดที่ชะลอสายตาสั้นในเด็กวัย 8-13 ปี โดยเฉลี่ยถึง 67%! หากสวมใส่วันละ 12 ชั่วโมงทุกวัน ด้วยผลวิจัยจาก Essilor joint Research and Development Centre กับมหาวิทยาลัยทางการแพทย์เวินโจว ประเทศจีน เพื่อลดโอกาสและความเสี่ยงของการเกิดโรคตาต่างๆ ที่จะส่งผลกับการเติบโตและพัฒนาการของลูกหลานในอนาคต เพื่อการเรียนรู้อย่างเต็มประสิทธิภาพทั้งในและนอกห้องเรียน ตอบโจทย์การใช้งานในชีวิตประจำวันของน้องๆ หนูๆ

โดยเลนส์มีความสวยงาม เรียบง่าย และทนต่อแรงกระแทก โดยมีนายทฤษฎี ตุลยอนุกิจ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท เอสซีลอร์ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) จำกัด และ ดร.มายูมิ ฟาง นักทัศนมาตรและผู้จัดการฝ่ายวิชาการและการอบรม ไทย บริษัท เอสซีลอร์ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ให้ข้อมูลและร่วมสาธิตการวัดสายตา เพื่อวิเคราะห์ค่าสายตาในเด็ก และแนะนำวิธีการการถนอมสายตาด้วยการปรับพฤติกรรมร่วมกับการสวมแว่นสายตาในเด็กวัย 8-13 ปี เพื่อชะลอการสายตาสั้นเพิ่มขึ้น

นายทฤษฎี ตุลยอนุกิจ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท เอสซีลอร์ลูซอตติกา โฮลเซล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวในการเปิดตัว Essilor® StellestTM ว่า “EssilorLuxottica คือผู้นำระดับโลกที่เป็นผู้นำด้านดีไซน์ ผลิตและจัดจำหน่ายเลนส์แว่นตา กรอบแว่น และแว่นกันแดด โดยในทางฟากฝั่งของเลนส์ เรามีพันธกิจที่จะช่วยให้ประชากรโลกมีการมองเห็นที่ดีและมีชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งในปีนี้ทางเรามีความภาคภูมิใจที่จะเปิดตัว เอสซีลอร์ สเตลเลสต์ (Essilor® StellestTM) นวัตกรรมล่าสุดของเลนส์สายตาสำหรับเด็กวัย 8-13 ปี ที่ช่วยชะลอภาวะสายตาสั้นโดยเฉลี่ย 67% ด้วยการใส่ติดต่อกันอย่างน้อยวันละ 12 ชั่วโมง ลดความเสี่ยงของโรคตาต่างๆ[1] ที่จะส่งผลต่อการเติบโต การเรียนรู้ และพัฒนาการของเด็กในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นโรคต้อหิน (Glaucoma), ต้อกระจก (PSCs), จอประสาทตาลอก (Retinal detachment) และโรคจอประสาทตาเสื่อม (Myopic maculopathy) ซึ่งโรคเหล่านี้อาจนำไปสู่ความบกพร่องทางการมองเห็น[2]

ดร.มายูมิ ฟาง นักทัศนมาตรและผู้จัดการฝ่ายวิชาการและการอบรม บริษัท เอสซีลอร์ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ในอดีตภาวะสายตาสั้น มีวิธีการแก้ไขแบบดั้งเดิมคือการสวมใส่เลนส์ชั้นเดียวทั่วไป หรือสวมใส่คอนแทคเลนส์ อย่างไรก็ตามการแก้ไขในลักษณะนี้อย่างเดียว ไม่เพียงพอในการช่วยควบคุมภาวะสายตาสั้น
การชะลอการเพิ่มขึ้นของค่าสายตาสั้นจึงเป็นสิ่งที่พึงกระทำควบคู่กับการแก้ไข

เลนส์แว่นตา Essilor® StellestTM เป็นโซลูชั่นล่าสุดจาก EssilorLuxottica ในการช่วยควบคุมสายตาสั้นในเด็ก ช่วยชะลอการเพิ่มค่าสายตาสั้นโดยเฉลี่ย 67%[3] เมื่อเทียบกับเลนส์สายตาชั้นเดียวหากสวมใส่วันละ 12 ชั่วโมง โดยมีผลการวิจัยทางคลินิกรองรับ  

เลนส์ Essilor® StellestTM ช่วยแก้ไขภาวะสายตาสั้น มอบการมองเห็นที่คมชัด ด้วยโซนเลนส์ชั้นเดียว และยังช่วยควบคุมสายตาสั้นด้วยเทคโนโลยี H.A.L.T.[4] ที่มีกลุ่มเลนส์ขนาดเล็ก 1,021 เลนส์ที่ขนาดเล็กจนแทบมองไม่เห็น[5] เพื่อสร้างปริมาตรของสัญญาณแสงด้านหน้าจอประสาทตาของเด็ก ช่วยชะลอการยืดตัวของกระบอกตา”

ภายในงานเปิดตัว Essilor® StellestTM ได้มีการสาธิตการวัดสายตาเด็กเพื่อวิเคราะห์ค่าสายตา เพื่อหาค่าเลนส์ที่เหมาะสม พร้อมแนะนำวิธีการสวมใส่แว่นตาเพื่อการถนอมสายตาควบคู่การปรับพฤติกรรมเพื่อช่วยชะลอการสายตาสั้นในเด็ก  โดยมีการเผยผลการวิจัยทางคลินิกที่ทำการเก็บตัวอย่างจากเด็กวัย 8-13 ปี ในระยะเวลา 2 ปี ที่สวมใส่แว่นตาเลนส์ Stellest พบประสิทธิภาพการทำงานของเลนส์ดังนี้

ผลการวิจัยทางคลินิกแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของเลนส์ ESSILOR® STELLESTTM

  • การวิจัยทางคลินิกในเด็ก 167 คน ที่มีภาวะสายตาสั้น เดือนกรกฎาคม 2018 โดย Essilor joint Research and Development Centre กับมหาวิทยาลัยทางการแพทย์เวินโจว ในประเทศจีน
  • ระยะเวลา 2 ปี หลังจากที่เด็กสวมใส่เลนส์แว่นตา Essilor® StellestTM จากการวิจัยพบว่าช่วยชะลอการเพิ่มของค่าสายตาสั้นโดยเฉลี่ย 67%3 เมื่อเทียบกับเลนส์สายตาชั้นเดียวหากสวมใส่วันละ 12 ชั่วโมงทุกวัน
  • หลังจากปีแรก การเติบโตของลูกตาของเด็ก 9 ใน 10 คนที่สวมใส่เลนส์แว่นตา Essilor® StellestTM ใกล้เคียงหรือช้ากว่าเด็กที่ไม่มีค่าสายตาสั้น
  • เลนส์ Essilor® StellestTM สวมใส่สบาย ง่ายในการปรับตัวสำหรับเด็ก ผลวิจัยแสดงให้เห็นว่า:
    • สำหรับเด็ก การมองเห็นที่ชัดเจนเหมือนกับใช้เลนส์แว่นตาชั้นเดียว
    • 100% ของเด็กปรับตัวได้ภายใน 1 สัปดาห์

“เราเล็งเห็นถึงความสำคัญของการดูแลภาวะค่าสายตาของเด็กไทย จึงอยากให้พ่อแม่ผู้ปกครองใส่ใจในการจัดการกับภาวะสายตาสั้นด้วยการหมั่นพาลูกหลานตรวจค่าสายตาประจำปี เพราะเด็กๆ มีการใช้สายตาตลอดเวลาทั้งการเรียนในห้องเรียนมองกระดานที่ครูสอน การมองจอไอแพด มือถือ คอมพิวเตอร์ ไปจนถึงการเล่นเกมส์จากจอ ฯลฯ หากพ่อแม่ผู้ปกครองมีการชะลอการเพิ่มค่าสายตาสั้นในเด็กตั้งแต่เนิ่นๆ จะยิ่งช่วยลดความเสี่ยงที่จะนำไปสู่การเกิดโรคความบกพร่องทางการมองเห็นจากโรคตาต่างๆ Essilor® StellestTM  คือคำตอบด้านการถนอมสายตาและชะลอการเพิ่มค่าสายตาสั้น ช่วยให้ผู้ปกครองคลายกังวลด้านการดูแลสายตาให้บุตรหลาน” คุณทฤษฎี กล่าวทิ้งท้าย เลนส์ Stellest ใช้วัสดุเลนส์ที่น้ำหนักเบา บาง ป้องกันรังสี UV และยังทนทานต่อแรงกระแทกมากที่สุด[6] เพราะใช้วัสดุ Airwear® เด็กจึงใส่สบาย และเหมาะกับวิถีชีวิตที่เต็มไปด้วยกิจกรรมของเด็กๆ สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ https://www.essilor.co.th/en/products/stellest หรือ ปรึกษาการตรวจวัดค่าสายตาให้แก่บุตรหลานได้ที่ร้านแว่นตาชั้นนำ Essilor Expert และ Essilor Partner ได้แล้ววันนี้

[1] Bullimore MA, Brennan NA. Myopia Control: Why Each Diopter Matters. Optom Vis Sci. 2019;96(6): 463-5. 
[2] Flitcroft DI. The complex interactions of retinal, optical and environmental factors in myopia aetiology. Prog Retin Eye Res. 2012;31:622-60.
[3] Compared to single vision lenses, when worn by children at least 12 hours per day every day. Bao, J., Huang, Y., Li, X., Yang, A., Zhou, F., Wu, J., Wang, C., Li, Y., Lim, E.W., Spiegel, D.P., Drobe, B., Chen, H., 2022. Spectacle Lenses With Aspherical Lenslets for Myopia Control vs Single-Vision Spectacle Lenses: A Randomized Clinical Trial. JAMA Ophthalmol. 140(5), 472–478. https://doi.org/10.1001/jamaophthalmol.2022.0401. 
[4] Highly Aspherical Lenslet Target.
[5] Aesthetic finish
[6] Test realised on multiple materials 1.50, 1.53, 1.56, 1.60, 1.67 and 1.74 in comparison with 1.59 by an accredited external laboratory using method defined in the safety US standard ANSI/ISEA Z87.1-2020 clause(s) 7.1.4.3 on High Velocity Impact and 9.14 on Prescription Lenses Material Qualification Test using plano lenses with the same hard coat and 2.0mm+/-0.2mm center thickness.

Share This Post:Share on Facebook0Share on Google+0Tweet about this on TwitterShare on LinkedIn0