ตรัง ตรึงตา

Story & Photo by Editorial Staff

Trang 1936

ภาพของอาคารไม้ชั้นเดียวทรงปั้นหยาสีเหลืองมัสตาร์ดสลับน้ำตาลโดดเด่น ตกแต่งประดับด้วยมุขเสา ลวดลายฉลุสวยงาม คงแบบฉบับเอกลักษณ์ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 เอาไว้ได้อย่างสวยงาม

Trang 1925

เป็นสถานีรถไฟสุดทางของทางรถไฟสายใต้ฝั่งทะเลอันดามัน ซึ่งในอดีตเป็นทางรถไฟที่ไว้ใช้รับส่งสินค้ากับต่างประเทศทั้งสิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย

Trang 1924

แม้ว่าเวลาผ่านไปนานเพียงใด แต่ “สถานีกันตัง” แห่งนี้ยังคงความงดงามและคลาสสิกไม่เสื่อมคลาย

Trang 1927

แต่ก่อนสถานีกันตังมีชื่อว่าสถานีรถไฟตรัง ก่อนจะมีการย้ายตัวจังหวัดไปอยู่ที่ ต.ทับเที่ยงสถานีรถไฟตรังจึงเปลี่ยนชื่อเป็นสถานีรถไฟกันตังส่วนสถานีทับเที่ยงก็เปลี่ยนชื่อเป็นสถานีรถไฟตรัง

Trang 1929

ตัวสถานีรถไฟเป็นอาคารไม้ชั้นเดียวผสมผสานศิลปะแบบตะวันออกและตะวันตก หลังคาเป็นรูปทรงปั้นหยาผสมกับหลังคาจั่ว

Trang 1931

ตัวอาคารเป็นห้องมีผนังไม้ตีตามตั้งโชว์แนวเคร่า พร้อมช่องลมระแนงไม้ตีทแยง ภายในสถานียังพอมีข้าวของเครื่องใช้ในอดีตคงเหลืออยู่บ้าง

Trang 1930

ปัจจุบันที่นี่ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของจังหวัดตรัง จากกรมศิลปากร ตั้งแต่ พ.ศ. 2539

Trang 78857

ในบริเวณสถานีมีร้านกาแฟชื่อ ‘สถานีรัก’ จะมีนักเดินทางและนักท่องเที่ยวนิยมมาถ่ายรูปเพราะมีมุมถ่ายรูปน่ารักๆ ตรงหน้าร้าน

Trang 78830

ไม่ไกลจากป้ายสถานี และภายในร้านตกแต่งด้วยของย้อนยุคหากอยากจะเห็นต้นยางพาราต้นแรกของประเทศไทยสามารถมาดูได้ที่บริเวณหน้าตึกสหกรณ์การเกษตรกันตัง

Trang 1963

ที่ถนนตรังคภูมิ อำเภอกันตัง ต้นยางพารามีถิ่นกำเนิดแถบลุ่มน้ำแอมะซอน ประเทศบราซิล

Trang 1962

พระยาสถลสถานพิทักษ์ หลานชายของพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี นำเมล็ดยางพาราเข้ามาปลูกที่บ้านพักในเมืองตรัง

Trang 1955

เป็นสวนยางรุ่นแรกของประเทศไทย เป็นหนึ่งในสถานที่ที่ใครมาเที่ยวจังหวัดตรังต้องแวะมาถ่ายรูปเป็นที่ระลึก

Trang 1951

ใครอยากเห็นวิวสวยๆ ในมุมสูงให้ขึ้นไปที่สวนตำหนักจันทน์ สถานที่ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ชื่อสวนตำหนักจันทน์ มาจากการสร้างตำหนักเล็กๆ บนเนินหรือควน ในการรับเสด็จองค์รัชกาลที่ 6 ครั้งเสร็จประพาสเมืองกันตัง เมื่อปี พ.ศ. 2452 ครั้งยังทรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร

Trang 1937

สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อทหารญี่ปุ่นเข้ามายังประเทศไทยได้ส่งกองกำลังมายังพื้นที่สำคัญทางยุทธศาสตร์ ซึ่งมีที่แห่งนี้รวมอยู่ด้วย เราจะเห็นอุโมงค์เก่าสมัยสงครามโลก สามารถเดินเข้าชมได้

Trang 1941

มีการจัดทางเดินไว้สวยงามปัจจุบันเป็นสวนสาธารณะสำหรับพักผ่อนหย่อนใจ ทั้งเป็นที่ออกกำลังกายของชาวเมืองกันตัง

Trang 1947

มีจุดชมวิวที่สามารถมองเห็นทิวทัศน์ตัวเมืองกันตังได้อย่างชัดเจน ตัวสวนตำหนักจันทน์ตั้งอยู่บนถนนป่าไม้

Trang 1861

กลางตัวเมืองกันตังสถานีรถไฟตรัง บริเวณด้านหน้าจะมีรถโดยสารท้องถิ่นขึ้นชื่อของจังหวัดตรัง ที่เรียกกันว่ารถหัวกบ จอดรอให้บริการ จะนั่งรถชมตัวเมืองก็ได้

Trang 1864

Trang 1872

ในช่วงวันศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา17.00 – 22.00 น.จะมีถนนคนเดินบริเวณหน้าสถานีรถไฟ จะมีทั้งของกินท้องถิ่น ขนมพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง ของใช้สินค้าพื้นเมือง สินค้าที่ระลึก งานศิลปะและงานฝีมือมาวางขายให้เลือกซื้อ

Trang 20-40-23_156

ที่สำคัญราคาไม่แพงมากนักเรียกได้ว่าเป็นสวรรค์ของนักกินของนักช้อปก็ว่าได้

Trang 1853

นอกจากนี้ตัวเมืองตรังยังมีย่านเมืองเก่าที่มีตึกเก่าสถาปัตยกรรมแบบชิโน-โปรตุกีส รูปแบบของอาคารโครงสร้างเป็นแบบโปรตุเกส ที่ผสมผสานศิลปะปูนปั้นแบบจีนเอาไว้

Trang 1821

รวมถึงภายในก็ตกแต่งแบบจีนด้วยเนื่องจากในอดีตที่เคยเป็นเมืองท่าสำหรับการค้า ซึ่งชาวจีนที่เข้ามาอาศัย ตั้งรกรากอยู่เดิมเป็นอาคารที่สร้างต่อเนื่องกันไป ต่อมามีการรื้อถอนและสร้างอาคารใหม่แทรกตัวขึ้น แต่เรายังพอเห็นหลงเหลืออยู่กระจายทั่วไปตาม ถ.กันตังถ.ราชดำเนิน และ ถ.พระรามหก

Trang 1829

โดยที่ตัวเทศบาลนครตรังหรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “เมืองทับเที่ยง” เป็นเมืองเก่าแก่มีประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานมากว่า 200 ปี

Trang 1837

อาคารที่น่าสนใจเช่น สมาคมจีนฮากกา ถนนราชดำเนิน ซอย 5 โรงแรมจริงจริงที่ได้รับอิทธิพลรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบปีนัง

Trang 1840

ในรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบโมเดิร์น (Modern) บ้านโบราณ 2486 ก่อสร้างโดยนายตุย ธนทวี ชาวจีนผู้เป็นนายช่างในสมัยพระยารัษฎานุประดิษฐ์ (คอซิมบี้ ณ ระนอง)

Trang 1857

หอนาฬิกา ชาวบ้านเรียกกันว่า “หอแหลงได้” เพราะในสมัยก่อนทางเทศบาลใช้เป็นที่กระจายข่าวสารให้ชุมชนได้ทราบ

Trang 1897

อีกหนึ่งจุดที่น่าสนใจ คือ วิหารคริสตจักรตรัง หรือเรียกอีกชื่อว่า “คริสตจักรทับเที่ยง” หรือ “คริสตจักรตรัง”

Trang 1877

เป็นโบสถ์คริสต์เก่าแก่ อายุเกือบร้อยปี ที่คริสตจักรตรัง มีอักษรจารึกไว้เหนือบันไดทางเข้าข้างหน้าว่า “วิหารคริสต์ศาสนา สร้าง ค.ศ. 1915”

Trang 1895

ช่วงเสาด้านข้างด้านหนึ่งเป็นหอระฆังสูง 3 ชั้น แต่เดิมนั้นหอระฆังเป็นเพียงดาดฟ้า มีลักษณะคล้ายกับป้อมทหารสมัยโบราณหลังจากนั้นมีปรับปรุงใหม่ เนื่องจากระฆังที่อยู่ในหอระฆังชั้นที่สองดังก้องมากเกินไป จึงเพิ่มชั้นบนขึ้นเช่นที่เห็นในปัจจุบัน

Trang 1887

ที่นี่ยังคงใช้สำหรับประกอบพิธีทางศาสนาต่างๆ พร้อมทั้งยังดำเนินงานเพื่อสืบทอดศาสนาทั้งในด้านการศึกษาในการถ่ายทอดความรู้ข้อพระคัมภีร์แก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป

Trang 1834

ที่น่าสนใจอีกอย่างคือที่ตรังยังมีสตรีตอาร์ต ให้นักท่องเที่ยวสายอาร์ตได้ถ่ายรูป โดยมีจุดแสดงศิลปะทั้งหมด 3 แห่งด้วยกัน รูปภาพทั้งหมดก็เป็นรูปภาพวาดแบบ 3 มิติ ที่จัดทำขึ้นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว และฉลองครบรอบ 100 ปีเมืองทับเที่ยง

Trang 1827

โดยได้รับความร่วมมือจากศิลปินของเมืองตรังมาร่วมกันสร้างสรรค์และแต่งแต้มรูปภาพสัญลักษณ์ของเมืองตรังบนกำแพงตึกเก่าเมืองตรัง เช่น สระมรกต และต้นศรีตรัง ฯลฯ

Trang 1862

นักท่องเที่ยวนิยมมาโพสท่าถ่ายรูปเก๋ๆ กันมากมายสำหรับใครที่ชอบเดิน แต่อยากเที่ยวชมตัวเมืองตรัง แนะนำให้เหมารถหัวกบรถตุ๊กๆ ที่เป็นสัญลักษณ์ของเมืองตรัง

Trang 19-47-01_592

นอกจากที่สถานีกันตังแล้วที่สถานีตรังก็มีให้บริการ เราสามารถเหมาเพื่อให้พาไปชมสถานที่ท่องเที่ยวหลักๆ ของเมืองตรังไม่ว่าจะเป็นย่านตึกเก่า โบสต์คริสต์วงเวียนปลาพะยูน

Trang 15-06-51_299

บ้านนายชวน หลีกภัยราคาอยู่ที่ประมาณชั่วโมงละ 250 บาทแล้วแต่ระยะทางและจำนวน สถานที่

Trang 14-53-39_656

ลองสอบถามกันได้ปัจจุบันการมาเที่ยวตรังสะดวกสบายขึ้นไม่จำเป็นต้องขับรถหลายชั่วโมง สามารถนั่งเครื่องบินมาลง ไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เที่ยวชมเมือง กินติ่มซำหมูย่างเมืองตรังและซื้อเค้กเมืองตรังของฝากขึ้นชื่อในวันหยุดสุดสัปดาห์ได้อย่างสบายๆ

 

ขอขอบคุณ สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสุราษฎร์ธานี

Share This Post:Share on Facebook0Share on Google+0Tweet about this on TwitterShare on LinkedIn0