วัดจอมสวรรค์ จังหวัดแพร่

Story & Photo by Editorial Staff

ตั้งอยู่บนถนนยันตรกิจโกศล ห่างจากศาลากลางจังหวัดแพร่ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ 1 กิโลเมตร มีพื้นที่โดยรวมประมาณ 9 ไร่ 74 ตารางวา

Jom Sawan Tample 08006

เป็นวัดโบราณ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 รูปแบบสถาปัตยกรรมศิลปะไทยใหญ่ (เงี้ยว) สร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง ตัวอารามเป็นทั้งโสถ์ วิหารกละกุฏิในที่เดียวกัน

Jom Sawan Tample 07989

ตามเสาและเพดานตกแต่งด้วยกระจกสีต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นรูปสัตว์หิมพานต์นานาชนิด เป็นศิลปะที่งดงามอย่างมาก

Jom Sawan Tample 07978

วัดแห่งนี้สร้างขึ้นด้วยแรงศรัทธาของชาวไทยใหญ่ (เงี้ยว) เดิมมีถิ่นฐานในประเทศพม่า ได้เข้ามาทำการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าพื้นเมืองกับชาวท้องถิ่นในจังหวัดแพร่ บางส่วนเข้าไปรับจ้างทำงานอยู่ในห้างอีสต์เอเชียติค เป็นบริษัทของชาวยุโรปที่ได้สัมปทานการทำไม้ในจังหวัดแพร่ จนฐานะร่ำรวย

Jom Sawan Tample 07990

ด้วยความเลื่อมใสในพุทธศาสนา พ่อเฒ่าคำอ่อง (ชาวเงี้ยว) ร่วมกับพ่อฮ่อยกันตี (ต้นตระกูลเจริญกุศล) ได้สร้างวัดจอมสวรรค์แห่งนี้ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2437 ประมาณ 5 ปีจึงแล้วเสร็จ

Jom Sawan Tample 08001

แต่หลังจากนั้นวัดก็ถูกละเลย เนื่องจากเหตุการณ์เงี้ยวปล้นเมืองแพร่ วัดจึงทรุดโทรม จนกระทั่ง พ่อฮ่อยกันตี นายฮ่อยคำมาด และแม่เฒ่าหล้าเจริญกุศล ได้บูรณะซ่อมแซมวัดให้มีสภาพดีขึ้น

Jom Sawan Tample 08000

ต่อมานายจองนันต่า (บิดาของแม่เตียว อักษรมินทร์) ซึ่งชาวอังกฤษเคยตั้งให้เป็น Headman เป็นชาวไทยคนหนึ่งที่ค้าขายจนร่ำรวย ร่วมกับแม่เฒ่ากุย ลูกสาวของพ่อฮ่อยกันตี ได้บูรณะเพิ่มเติม และได้สร้างเจดีย์รูปแบบสถาปัตยกรรมพม่าไว้ทางทิศตะวันออกของวัดด้วย

Jom Sawan Tample 07983

ของดีภายในวัด นอกจากศิลปะการตกแต่งกระจก เสา และเพดานแล้ว

Jom Sawan Tample 07997

ยังมีคัมภีร์งาช้างซึ่งจารึกอักษรฝักขาม ตัวคัมภีร์ทำจากงาช้างนำไปบดละเอียดผสมกับยางไม้แล้วนำมารีดเป็นแผ่น ผึ่งให้แห้งแล้วนำมาจารด้วยสีที่ได้จากยางไม้อีกครั้ง ถือเป็นศิลปวัตถุที่มีค่ายิ่ง นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปที่สานด้วยไม้ไผ่ (หลวงพ่อสาน) หน้าตักกว้าง 54 ซม. สูง 80 ซม. ปางสะดุ้งมาร ประดิษฐาน ณ อารามแห่งนี้ด้วย

Share This Post:Share on Facebook0Share on Google+0Tweet about this on TwitterShare on LinkedIn0