ไปวันเดียวเที่ยวปทุม

เรื่องและภาพโดย ทีมงาน Vacationist

ปทุมธานี เมืองท่องเที่ยวใกล้กรุง ที่หลายคนอาจมองข้าม เพราะอยู่ใกล้กรุงเทพฯ แค่นิดเดียว ใช้เวลาเดินทางประมาณ 45 นาทีถึง 1 ชั่วโมงเท่านั้น

แต่เต็มไปด้วยสถานที่ท่องเที่ยวมากกมายทั้ง วัดวาอาราม ตลาดเก่า คาเฟ่เก๋ สถานที่ท่องเที่ยวแหล่งชุมชนและเชิงเกษตรกรรม

เดิมทีจังหวัดปทุมธานี ชื่อ “เมืองสามโคก” เป็นเมืองที่ตั้งมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาในแผ่นดินของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง เมื่อปี พ.ศ. 2358 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยนั้น พระองค์ได้เสด็จประพาสเมืองสามโคก ได้มีพสกนิกรจำนวนมากสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ นำดอกบัวหลวงขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย

จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามเมืองใหม่เพื่อให้เป็นสิริมงคลว่า “ประทุมธานี” และต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเปลี่ยนการสะกดนามจังหวัดเป็น “ปทุมธานี” อยู่ห่างจากกรุงเทพฯไปทางทิศเหนือประมาณ 46 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 1,565.856 ตารางกิโลเมตร เเบ่งการปกครองออกเป็น 7 อำเภอ คือ อำเภอเมืองปทุมธานี สามโคก ลาดหลุมเเก้ว ธัญบุรี หนองเสือ คลองหลวง และ ลำลูกกา

อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น ว่าปทุมธานีมีที่เที่ยวมากมาย แต่ครั้งนี้เรามีเวลาเที่ยว 1 วัน ขอยกเส้นทางสายบุญ ไหว้พระทำบุญ ล่องเรือ และปิดท้ายกับจิบกาแฟชมสวยสวยๆ กัน

เราต้นจุดหมายแรกของเราที่ วัดชินวราราม เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งเป็นวัดเมื่อ พ.ศ. 2358 พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า อดีตเจ้าอาวาสราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ทรงปฏิสังขรณ์เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับหม่อมมารดา

บริเวณรอบพระอาราม กว้างขวาง ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระชินวรเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย สมัยสุโขทัย  มีจิตรกรรมฝาผนังที่งดงามรอบด้านเป็นเนื้อหาว่าด้วยเรื่องทศชาติชาดก

โดยผนังระหว่างหน้าต่างเขียนเรื่องทศชาติ ส่วนผนังในระดับเหนือหน้าต่างและประตูนั้น หลังพระประธานเขียนภาพโปรดพุทธมารดาบนสวรรค์ ตรงข้ามเขียนภาพมารผจญไว้เหนือทางเข้า ส่วนผนังด้านข้างแบ่งเป็น ๒ แถว แถวล่างเขียนอดีตพุทธพร้อมสาวก

แถวบนเขียนเทพชุมนุม แต่แทนที่จะเขียนเป็นภาพเทวดา ฯลฯ นั่งพนมมือ กลับเขียนเป็นรูปเทวดานพเคราะห์ทรงสัตว์ที่เป็นพาหนะประจำตัวมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า นอกจากนั้น บนบานหน้าต่างยังเขียนภาพทวารบาลเป็นคู่ๆ ขนาบข้างด้วยกอบัว

จากวัดชินวราราม เราเดินทางต่อไป เพื่อชมความคืบหน้าของ ประติมากรรมดอกบัว 100 ปี ณ ศาลากลางเก่า ซึ่งประติมากรรมดอกบัวปทุมธานี 100 ปี ตั้งอยู่บริเวณสวนเทพปทุมเฉลิมพระเกียรติ ตำบลบางปรอก อำเภอเมืองจุดประสงค์ที่ทำขึ้นก็เพื่อน้อมระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณแห่งสถาบันพระมหากษัตริย์ที่มีต่อพสกนิกร

จังหวัดปทุมธานีต้องการสร้างอัตลักษณ์และสัญลักษณ์ที่โดดเด่น เพื่อสื่อถึงสภาพสังคม ศิลปวัฒนรรรมและประวัติศาสตร์ของจังหวัดปทุมธานี และเป็นแลนด์มาร์คที่สำคัญของจังหวัดปทุมธานี

ประติมากรรมนี้ประกอบไปด้วย ประติมากรรมดอกบัวตูมกำลังจะผลิบาน แทนสัญลักษณ์แห่งความดี ความสะอาด บริสุทธิ์ มีคุณค่า เจริญรุ่งเรือง มั่งคั่ง อุดมสมบูรณ์ โชคดี สามัคคี ปลอดภัย และเป็นสิ่งอันเป็นมงคล และลูกแก้วจำนวน 12 ลูก บนโครงสร้างเสาขนาดใหญ่รวมฐาน สูง 10 เมตร เปรียบเสมือนกาลเวลาเป็นนาฬิกาบอกความเป็นมาของเมืองปทุมธานี และมีปลาตะเพียน เงินตะเพียนทอง อยู่รอบๆ โดยทั้งหมดนั้นเกิดจากการรวมมือกันของศิลปินแห่งชาติ รวม 13 ท่าน ร่วมสร้างสรรค์ผลงานศิลป์เพื่อแผ่นดิน ซึ่งแต่ละท่านก็จะสร้างสรรค์ศิลปะตามจินตนาการของแต่ละท่าน

สำหรับ 13 ศิลปินแห่งชาติ นำโดย 1.อ.ทวี รัชนีกร 2.อ.อินสนธิ์ วงศ์สาม 3.อ.เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ 4.อ.ธงชัย รักปทุม 5.อ.กมล ทัศนาญชลี 6.อ.เดชา วราชุน 7. อ.วิชัย สิทธิรัตน์ 8. อ.เข็มรัตน์ กองสุข 9.อ.ปรีชา เถาทอง 10.อ.อิทธิพล ตั้งโฉลก 11.อ.ปัญญา วิจินธนสาร 12.อ.วิโชค มุกดามณี  คาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ภายในปี 2563 นี้

จากนั้นเดินทางต่อไปสักการะ ศาลหลักเมือง ซึ่งตั้งอยู่บริเวณหน้าศาลากลาง เป็นศาลาแบบจัตุรมุขยอดปรางค์ ประดิษฐานเสาหลักเมือง

ซึ่งมีลักษณะเป็นเสากลม ทำจากไม้ชัยพฤกษ์ ฐานแกะสลักเป็นดอกบัวรองรับ หัวเสาแกะเป็นลูกบัวแก้ว และเสาหลักเมืองจำลองทั้ง ๙ องค์ในลักษณะแบบเดียวกันรวมถึงมีรูปเคารพของพระกาฬไชยศรี พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง

ติดกันกับศาลหลักเมืองก็คือ ศาลพระปทุมธรรมราช พระพุทธรูปเก่าแก่ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งจุดนี้คือองค์จำลอง พระปทุมธรรมราชองค์จริงประดิษฐานอยู่ที่วัดบางหลวง อำเภอเมือง

พระปทุมธรรมราชนั้นรัชกาลที่ 5 ตั้งใจจะให้เป็นพระพุทธรูปประจำเมืองปทุมธานี เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจในการประพฤติดี ประพฤติชอบ ทั้งกาย วาจา และใจพระปทุมธรรมราช เป็นพระพุทธรูปปางขัดสมาธิเพ็ชร โดยพระองค์เป็นผู้พระราชทานนามพระปทุมธรรมราชให้ด้วย

หลายคนที่เคยได้มาวัดสิงห์ อาจจะคุ้นตาดีกับภาพของวัด เนื่องจากเป็นวัดที่เป็นที่นิยมสำหรับกองถ่ายละครเป็นอย่างมาก หลายกองถ่ายเลือกสถานีที่นี้เป็นสถานที่ถ่ายทำละคร ด้วยเพราะความเก่าแก่และงดงามของสถานที่นี้เอง

วัดสิงห์ เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนกลาง และครั้งที่กรุงศรีอยุธยายังเป็นราชธานี ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่คู่บ้านคู่เมืองสามโคก ที่มีมาก่อนชาวรามัญจะอพยพเข้ามาอยู่ที่บ้านสามโคก

ภายในวัดเต็มไปด้วยศิลปะและสถาปัตยกรรมตั้งแต่สมัยอยุธยา ไม่ว่าจะเป็นวิหารโถง (ศาลาดิน) เป็นอาคารทรงไทยก่อด้วยอิฐ จั่วลูกฟักหน้าพรม มีมาลัยโดยรอบ มุงด้วยกระเบื้องดินเผากาบู เชิงชายทำเป็นบันแถลงรูปสามเหลี่ยมปลายเรียวโค้งรูปเทพพนมสลับกับรูปดอกบัวอ่อนช้อยสวยงาม

ด้านหน้ามีชายคาปีกนกยื่น ออกมาจากคัวอาคาร ฐานของอาคารทำเป็นท้องสำเภาอิฐเป็นฐานปัทม์แอ่นโค้ง มีช่องประตูเข้าสู่วิหารด้านหน้าเพียงช่องเดียว

วงกบประตูทำด้วยไม้สักทอง มีพระพุทธรูปเป็นพระประธานองค์ใหญ่ 1 องค์อายุกว่า 320 ปี และโกศพญากราย ซึ่งเป็นที่บรรจุอัฐิของท่านอดีตเจ้าอาวาส และพระราชาคณะในสมัยรัชกาลที่ 2 ซึ่งตกแต่งอย่างงดงามด้วยฝีมือการปั้นปูนสดที่หาชมได้ยาก ภายในบริเวณวัดค่อนข้างร่มเย็นเต็มไปด้วยต้นไม้ใหญ่ที่ให้ร่มเงาและความร่มเย็น

มีพระพุทธรูปเป็นพระประธานองค์ใหญ่ 1 องค์อายุกว่า 320 ปี และโกศพญากราย ซึ่งเป็นที่บรรจุอัฐิของท่านอดีตเจ้าอาวาส และพระราชาคณะในสมัยรัชกาลที่ 2 ซึ่งตกแต่งอย่างงดงามด้วยฝีมือการปั้นปูนสดที่หาชมได้ยาก ภายในบริเวณวัดค่อนข้างร่มเย็นเต็มไปด้วยต้นไม้ใหญ่ที่ให้ร่มเงาและความร่มเย็น

แต่สำหรับคนที่มีเวลาน้อยอยากแวะวัดแค่วัดเดียวแล้วละก็ เราแนะนำให้ไปนมัสการหลวงพ่อโตที่วัดโบสถ์หรือ วัดหลวงพ่อโตองค์ใหญ่ 

เป็นวัดสังกัดธรรมยุทธนิกาย ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาตะวันตก ที่อำเภอสามโคก สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2164 เชื่อกันว่าสร้างขึ้นโดยชาวมอญที่อพยพมาจากเมืองหงสาวดี เข้ามาอยู่ในแผ่นดินไทยตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

และต่อจากนั้นก็ยังมีการอพยพเข้ามาของชาวมอญมาอยู่ในบริเวณนี้อีกหลายครั้ง จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นอีกหนึ่งวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา

เดิมมีชื่อว่า วัดสร้อยนางหงษ์ เป็นการนำชื่อหมู่บ้านที่อพยพมาอาศัยอยู่ ตั้งเป็นชื่อวัดและได้สร้างเสาหงส์ขึ้นไว้เป็นสัญลักษณ์แห่งเมืองหงสาวดี

ภายในวัดมีโบราณสถานและโบราณวัตถุที่สำคัญมากมาย เราจะได้สักการะบูชา พระพุทธรูปสมเด็จพระพุทธจารย์โต พรหมรังสี (หลวงพ่อโต) ปางเทศนาธรรมองค์ใหญ่

มีหลวงพ่อพุทธโสธรองค์ใหญ่ รวมถึงมีวิหารท้าวจาตุคามรามเทพ วิหารพระสีวลี และหลวงปู่ทวด ใบเสมาหินชนวนศิลปะสมัยอยุธยาตอนตั้น รูปพระธรรมและธรรมาสน์ยอดโดมในสมัยรัตนโกสินทร์ มีพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงโบราณวัตถุให้เราได้เยี่ยมชมกัน

บริเวณวัดร่มรื่นและร่มเย็น ด้วยเพราะทำเลที่ติดกับแม่น้ำ มีลมโชยอยู่ตลอดเวลาแล้ว 

ด้านที่ติดริมแม่น้ำที่เรียกกันว่า วังมัจฉาก็เต็มไปด้วยเหล่าปลามากมาย

ใกล้กันนั้นเป็นโซนขายของที่มีทั้งอาหารคาวหวาน รวมไปถึงของฝาก ของที่ระลึกจากปทุมธานีให้เลือกซื้อหาไว้ให้คนที่คุณรักได้

ปิดท้ายทริปหนึ่งวันปทุมธานีของเราที่ร้านกาแฟริ่มทุ่งชื่อ Wisdom farm สำหรับวิสดอมฟาร์มนั้น ตั้งอยู่ในพิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติ อำเภอคลองหลวง สามารถเข้าทางเดียวกับพิพิธภัณฑ์ได้เลย

พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับการเกษตร ที่มุ่งมั่นในการสืบสานพระราชปณิธาน สู่การรักษาต่อยอดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

ไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ รวมทั้งเพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการทำเกษตรในรูปแบบแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร เพื่อให้สอดคล้องกับสังคมการเรียนรู้

สำหรับร้านกาแฟ Wisdom farm ที่ตั้งอยู่ภายในนั้น ตัวร้านกาแฟเป็นโครงไม้ไผ่สี่เหลี่ยมขนาดเล็กที่ตั้งอยู่ริมทุ่งนา ภายในร้านมีเครื่องดื่มทั้งกาแฟ ชา เครื่องดื่มจากผลไม้สดๆ แบบออร์แกนิคที่ปลอดภัย ไร้สารพิเษ

จุดเด่นของร้านอยู่ที่สะพานไม้ไผ่ที่ทอดยาวโค้งลัดเลาะ จากตัวร้านไปยังท้องทุ่งสีเขียวชอุ่ม มีศาลาและจุดให้นั่งพักและถ่ายรูปสวยๆ อยู่ตลอดแนวทางเดิน

สำหรับด้านหน้าของร้านกาแฟ เราจะเห็นเรือขุดที่เป็นเรือขุดตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยในขณะนั้นมีการสั่งซื้อเรือขุด จำนวน 2 ลำจากประเทศเนเธอร์แลนด์

โดยเรือขุด 1 นำมาเพื่อขุดลอกคลองแสนแสบในปี 2449 ซึ่งขณะนั้นมีตะกอนตื้นเขินมาก ใกล้ๆ กันนั้นจะมีทางเดินขึ้นไปปด้านบนต้นไม้

ซึ่งสร้างเป็นสะพานเชื่อมระหว่างต้นไม้แต่ละต้น เพื่อให้เห็นภาพบรรยากาศวิวมุมสูงของทุ่งนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงพระอาทิตย์ตกดิน บรรยากาศสวยงามและโรแมนติกมาก เหมาะกับการผ่อนคลายในวันที่เหนื่อยล้าได้เป็นอย่างดี

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการท่องเที่ยว 1 วันในจังหวัดปทุมธานี ซี่งจริงๆ แล้วจังหวัดนี้ยังมีที่เที่ยวอีกมากมายให้ได้เที่ยวชมกัน เช่น ตลาดอิงน้ำสามโคก

เดินชิลชมวิถีชีวิตชุมชนริมน้ำที่มีของกินมากมาย ทั้งอาหารไทยดั้งเดิม อาหารมอญพื้นบ้าน สินค้าทางการเกษตรจากชาวบ้าน ฯลฯ ในบรรยากาศที่เรียบง่าย

หรือจะช้อปกันอย่างจุใจจากสินค้าและอาหารในชุมชนพื้นที่ ที่มีขายทั้งสินค้า OTOP และสินค้ามือสอง ที่ตลาดน้ำ 100 ปี ลำลูกกา วัดนังคัลจันตรี ก็ย่อมได้ หยุดนี้แค่ไปวันเดียวเที่ยวปทุมได้อย่างง่ายดาย

หนึ่งกิจกรรมที่ห้ามพลาด คือ การล่องเรือแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อชมวิถีชีวิตวัฒนธรรมไทย-มอญ และแวะวัดไหว้พระ ทำบุญสุขใจ สามารถสอบถามได้ที่จังหวัดปทุมธานี

Share This Post:Share on Facebook0Share on Google+0Tweet about this on TwitterShare on LinkedIn0