หุบป่าตาด – อุทัยธานี

เรื่องและภาพโดย ทีมงาน Vacationist

หุบป่าตาด 6855

หุบป่าตาด อยู่ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุน จังหวัดอุทัยธานี หนึ่งในสถานที่ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น Unseen Thailand ที่นักท่องเที่ยวควรแวะไปสักครั้งกับสถานที่ที่เต็มไปด้วยความพิศวงทางธรรมชาติอย่าง หุบป่าตาด หน้าทางเข้าจะมีมัคคุเทศก์น้อย นำพาเข้าไปพร้อมอธิบายให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยว

หุบป่าตาด 6861

จากการค้นพบโดยพระครูสันติธรรมโกศล (หลวงพ่อทองหยด) เจ้าอาวาสวัดถ้ำทอง เมื่อปี พ.ศ. 2522 ต่อมา กรมป่าไม้ (กรมอุทยานแห่งชาติในปัจจุบัน) ได้ประกาศให้ที่นี่เป็นพื้นที่อนุรักษ์ที่มีค่ายิ่งต่อจังหวัดอุทัยธานี รวมทั้งประเทศไทย

หุบป่าตาด 6862

ด้วยสภาพภูมิศาสตร์ที่แปลกตา พร้อมทั้งมีพรรณไม้หายากมากมาย ปัจจุบันหุบป่าตาดอยู่ในความดูแลของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุน

หุบป่าตาด 6866

การเดินทางไปยังหุบป่าตาด ต้องผ่านทางเดินของโถงถ้ำที่มืดสนิท

หุบป่าตาด 6874

นักท่องเที่ยวต้องพึ่งแสงจากไฟฉายฝ่าความมืดเข้าไปภายในถ้ำหินย้อย เพื่อมุ่งไปสู่ปลายทางของถ้ำอีกฝั่ง

หุบป่าตาด 6869

เข้ามาก็จะเจอป้ายบอกสัตว์ที่อาศัยอยู่ภายในถ้ำนี้ก็คือ นกมีหู หนูมีปีก (ค้างคาว) นั่นเอง

หุบป่าตาด 6880

หุบป่าตาด 6877

หุบป่าตาด 6891

เมื่อเราผ่านตัวถ้ำออกมาก็จะเผยให้เห็นความมหัศจรรย์ของป่าตาด ป่าดงดิบขนาดใหญ่ที่เต็มไปด้วยต้นตาดมากมายซ่อนตัวอยู่ (ต้นตาดคือต้นไม้โบราณสายพันธุ์เดียวกับปาล์ม)

หุบป่าตาด 6881

หุบป่าตาด 6884

มัคคุเทศก์น้อย ที่ให้คอยให้ความรู้ถึงประวัติ คุณลักษณะ สิ่งที่จะพบที่หุบป่าตาด

หุบป่าตาด 6894

และยังพบพรรณไม้หายากอีกหลายชนิด เช่น ยมหิน ต้นกะพง และต้นไทรรูปทรงแปลกตา

หุบป่าตาด 6886

หุบป่าตาด 6888

ที่สำคัญจะเจอกิ้งกือมังกรสีชมพู (Shocking Pink Millipede) ซึ่งพบที่ประเทศไทยแห่งเดียวในโลกเท่านั้น ถูกค้นพบโดยสมาชกชมรมคนรักกิ้งกือ เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2550 พบครั้งแรกที่หุบป่าตาด เป็นสุดยอดการค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่อันดับ 3 ของโลก รองจากการค้นพบปลากระเบนไฟฟ้าใรแอฟริกา และฟอสซิลไดโนเสาร์ปากเป็ดอายุ 75 ล้านปีที่สหรัฐอเมริกา

หุบป่าตาด 6900

หุบป่าตาด 6937

หุบป่าตาด 6941

เราจะพบ ต้นปอหูช้าง (Firmiana Colorata) คือต้นไม้ที่เกิดอยู่บนก้อนหิน เป็นไม้เนื้ออ่อน

หุบป่าตาด 6910

หุบป่าตาด 6912

หุบป่าตาด 6913

หุบป่าตาด 6916

ตรงบริเวณโถงใหญ่มีสถานที่ที่เคยประทับของสมเด็จพระเทพฯ พระองค์ท่านทรงทอดพระเนตรหินย้อยด้านหน้าที่ประทับ แล้วทรงตรัสว่าเป็น “ช้างร้อยเชือก”

หุบป่าตาด 6935

เดินศึกษาธรรมชาติบริเวณภายในถ้ำก่อนวนกลับออกมาพร้อมความรู้ ที่ได้พบเจอสิ่งหายากของโลกในเมืองไทย ที่อุทัยธานีเท่านั้น

หุบป่าตาด 6925

ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการมาเที่ยวหุบป่าตาดคือช่วง 11.00 – 13.00 น. ซึ่งเป็นช่วงที่แสงจะส่องลงมายังหุบป่าตาดมากที่สุด ทำให้เห็นประกายของหินแวววับในโพรงถ้ำสวยงามมาก และหุบป่าตาดจะปิดไม่ให้เข้าหลังเวลา 16.00 น. ระยะทางเดินไป – กลับ 700 เมตร ใช้เวลาประมาณ 30 นาที
https://goo.gl/maps/NafqrEPqHyx

Share This Post:Share on Facebook0Share on Google+0Tweet about this on TwitterShare on LinkedIn0